สรุป Clubhouse ทักษิณ – ช่วงกลางคืนวานนี้ (22 ก.พ. 2564) สร้างความฮือฮาให้ประชาชนอย่างมาก เมื่อ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ร่วมเล่น Clubhouse แอปพลิเคชั่นที่คนไทยกำลังนิยมอยู่ในขณะ โดยเป็นรูปแบบการพูดคุยผ่านเสียง เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ภายใน “ห้อง” สามารถมีการพูดคุยถามตอบได้ นั่นจึงทำให้ ห้อง “ไทยรักไทย ใครเกิดทัน มากองกันตรงนี้” มีผู้เข้าฟังเต็ม 8 พันคนในเวลาอันรวดเร็ว และมีการถ่ายทอดสัญญาณเสียงไปอีกหลายห้อง ก็เต็มเช่นเดียวกัน เนื่องจากประชาชนต้องการฟังความคิดเห็นของทักษิณ และถามตอบในสิ่งที่อยากรู้
ทักษิณ ใช้ชื่อใน Clubhouse ว่า Tony Woodsome โดย Woodsome
มาจากย่านที่พักแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่พำนักของทักษิณ ชินวัตร โดยประเด็นการพูดคุยที่น่าสนใจสามารถสรุปเป็น 3 หัวข้อใหญ่ ๆ ได้คือ 1. เรื่องนโยบายสมัยไทยรักไทย 2. ปัญหากรือเซะตากใบ 3. ปัญหาการเมืองไทยปัจจุบัน
ประเด็นเรื่องนโยบายไทยรักไทย ทักษิณเล่าถึงสมัยที่ตนดำรงตำแหน่งนายก นโยบายที่สร้างชือสร้างคุณภาพชีวิตให้คนไทยอย่างมาก คือ นโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค ทักษิณมองว่าที่ไม่ใช่เป็นรูปแบบของรัฐสวัสดิการ แต่เป็นโครงการที่ตอบสนองปัจจัยสี่ การจัดการโครงการสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง เห็นได้จาก แม้มีรัฐประหาร เศรษฐกิจถดถอย แต่โครงการก็ยังอยู่ได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้เศรษฐกิจแข็งแรงขึ้น
นอกจากนี้ยังพูดถึงนโยบายอื่น ๆ ที่ดำเนินการในสมัยรัฐบาลทักษิณ ที่ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนไทย ทั้งโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ที่นำเงินจากการขายหวย ปรับหวยใต้ดินมาอยู่บนดิน เพื่อแก้ปัญหาหวยเถื่อน มาใช้เป็นทุนให้เด็กที่เรียนดี พัฒนาคุณภาพชีวิตจากการศึกษา แม้แต่นโยบาย แจกแลอปทอปให้เด็ก ที่เริ่มดำเนินการในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก็เป็นความคิดมาตั้งแต่สมัยทักษิณ
ในด้านเศรษฐกิจ ทักษิณกล่าวว่า ให้ความสำคัญกับนโยบายการคลังมาก มีการวางแผนคิดหมดว่า งบประมาณขาดดุลต้องไม่เกินเท่าไหร่ หนี้สาธารณะไม่เกินแค่ไหน และยังดำเนินไปถึงการลดหนี้ เพิ่ม GDP ความสำเร็จของนโยบายดังกล่าว สะท้อนได้จาก ไทยรักไทยสามารถทำงบประมาณสมดุลได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2548-49 นับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 2540 ในช่วงเปิดโอกาสให้ผู้ฟังถามตอบ ทักษิณถูกถามเรื่องปัญหากรือเซะตากใบ โศกนาฎกรรมตากใบ เมื่อ 25 ต.ค. 2547 ที่ประชาชนจำนวนมากไปชุมนุมประท้วงหน้าสถานีตำรวจเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) 6 คน ซึ่งถูกจับในข้อหาที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนอาวุธปืนให้ผู้ก่อความไม่สงบ
เหตุการณ์วันที่ 25 ต.ค. 2547 จบลงด้วยการสลายการชุมนุม มีผู้เสียชีวิต 7 ราย และที่สร้างการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก คือการเคลื่อนย้ายผู้ถูกจับกุม 1,370 คน โดยให้นอนอัดไปในรถควบคุมตัว ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตระหว่างเคลื่อนย้าย 77 ราย หนึ่งในสาเหตุการตายระบุว่า ขาดอากาศหายใจ ถูกทบที่หน้าอก
ทักษิณตอบคำถามเหตุการณ์ตากใบว่า กรณีดังกล่าวทหารเป็นผู้ควบคุม ตนจำเหตุการณ์ไม่ค่อยได้ แต่กล่าวว่าเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ส่วนเรื่องปัญหาการเมืองไทยปัจจุบัน ที่คนรุ่นใหม่ออกมาประท้วง เรียกร้องว่า ปัญหาเกิดจากเด็กรุ่นใหม่มองไม่เห็นอนาคต ” เด็กๆยุคนี้อดีตเขาอาจจะเคยเห็นรัฐบาลไทยรักไทย ได้ยินพ่อแม่พูดว่า ตอนนี้กำลังจะซื้อบ้าน ซื้อรถ ตอนปัจจุบัน เขาได้ยินพ่อแม่ พูดว่า กำลังขายรถ ขายบ้าน คำถามคือ อนาคตเขาจะอยู่อย่างไร” นอกจากนี้ในตอนหนึ่งทักษิณได้กล่าวว่า “ประเทศไทยมีสถาบันมาช้านาน เราต้องเคารพ”
อนุทิน ปัด ประยุทธ์ฉีดวัคซีนคนแรก ชี้เหตุผลด้านข้อจำกัด
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาอธิบาย หลังจากที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ประกาศกร้าวว่า ถ้าจะให้ฉีดวัคซีนซิโนแวค เขาก็พร้อมจะฉีดเป็นคนแรก ท่ามกลางหลายฝ่ายที่ระบุว่า วัคซีนซิโนแวคนั้นไม่ควรฉีดกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ซึ่งนายกฯมีอายุ 66 ปี โดยนายอนุทินกล่าวว่า เมื่อกี้ใครไปพาดหัวหลายสำนักข่าวเลยบอกว่า นายกฯ ยันจะฉีดวัคซีน เมินข้อจำกัดเนี่ย ไม่มี ไม่มีเมินแน่นอน ต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดครับ ฉีดไม่ได้คือฉีดไม่ได้ ฉีดได้คือฉีดได้ ณ วินาทีนี้บอกแค่นี้ก่อน”
เมื่อถามย้ำว่าล็อตแรกที่จะมาวันพุธที่ 24ก.พ. นี้นายกฯยังไม่ได้ฉีดใช่หรือไม่ นายอนุทิน ตอบว่า ต้องให้คณะกรรมการบริหารวัคซีนตัดสินใจ ถ้าบอกว่า พล.อ.ประยุทธ์ ฉีดได้ก็จะฉีดให้ แต่เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ แสดงความต้องการชัดเจนก็ต้องหาให้ฉีดได้ และปลอดภัย เช่นเดียวกับผู้นำประเทศที่ได้ฉีดวัคซีน เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชน
ทั้งนี้นายอนุทินได้ระบุว่า นายกฯ ก็ถือเป็นกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากเป็นผู้ที่ต้องเดินทางไปหลายพื้นที่ ถ้าคนจะตีความว่าทำไมฉีดก่อนประชาชนนั้นไม่ใช่ เพราะนายกฯ มีสิทธิอยู่ในกลุ่มที่จะต้องได้รับการพิจารณาในการฉีดอยู่แล้ว เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นคนที่จะต้องสัมผัสกับผู้คนมากมาย คือสิ่งที่เอามาบวกกับความประสงค์ที่อยากจะฉีดให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ เราก็ต้องพยายามหาทางให้
หมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ที่ผ่านมาฝ่ายรัฐบาลและ ส.ว. พยายามตลอดที่จะไม่ให้ ส.ส.ร. สามารถจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ในหมวดนี้ได้ (เรื่องนี้อยู่ในมาตรา 256/13) ผมและพรรคก้าวไกล ยืนยันมาตลอดว่าในเมื่อเราจะได้จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่แล้ว ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะเปิดให้สามารถจำทำได้ในทุกหมวด เพื่อให้ตรงกับเจตนารมณ์ของประชาชนมากที่สุด
เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทุกวันนี้มีประชาชนจำนวนมากเห็นว่าหมวด 1 และหมวด 2 นั้นสมควรต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับหลักนิติรัฐและประชาธิปไตยมากขึ้น เราจึงควรเปิดโอกาสให้ประชาชนกลุ่มนี้ได้นำเสนอข้อเรียกร้องของตัวเอง แล้วสุดท้ายประชาชนทั้งประเทศจะเป็นผู้ตัดสินว่าจะรับข้อเรียกร้องเหล่านั้นหรือไม่? มากน้อยเพียงใด?
แนะนำ : รีวิวเครื่องใช้ไฟฟ้า | รีวิวอาหารญี่ปุ่น| รีวิวที่เที่ยว | ดาราเอวี